วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

ชีวะกับความรัก ของพี่เต็นท์

เป็นหรือเปล่าครับ?
เวลามีความรัก ทำไมต้องหน้าแดง หายใจแรง ตัวร้อนผ่าวๆแล้ววิ่งไปแอบอยู่มุมตึกทุกทีเลย
ประสบการณ์ตรงผมเองสมัยเด็กๆเองครับ ^^"
คนมากมายค้นหาคำตอบว่ารักคืออะไร
นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงช่วยหาคำตอบได้ว่า ปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความรัก
คือ ระบบประสาท และ สารเคมีในร่างกาย ครับ






พวกเขาแบ่งความรักง่ายๆออกเป็น 3 stages ซึ่งสัมพันธ์กับสารเคมีที่แตกต่างกันครับ
1) lust - เมื่อผมหื่นกระหาย(?) : เทสโทสเตอโรน และอะดรีนาลีน
2) attraction - เมื่อผมกระวนกระวาย คิดถึงเธอจะตาย : โดปามีน อะดรีนาลีน และฟีนีลเอธีลามีน (PEA)
3) attachment - เมื่อผมจะรักคุณจนฟ้าดินสลาย : ออกซีโทซิน และวาโสเพรซซิน





lust stage

ขณะเราอินเลิฟช่วงแรกเป็นผลโดยตรงของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนครับ
จากเดิมเธอเป็นเพียงใครก็ไม่รู้ที่เดินผ่านไปผ่านมาทุกวัน เมื่อเราอินเลิฟความรู้สึกนั้นมันจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นครับ
ชื่อว่าฮอร์โมนเพศชาย แต่ในผู้หญิงก็ผลิตได้เหมือนกันนะ
คุณหมอบางท่านจึงเสริมยาที่คล้ายฮอร์โมนเพศชายให้กับคุณป้าหลังวัยหมดประจำเดือนเพื่อเพิ่มความรู้สึกทางเพศครับ

นอกจากนี้ ในช่วงนี้อะดรีนาลีน ซึ่งเป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาท จะพาเหรดหลั่งออกมามากมาย
เป็นผลให้เรารู้สึกดีกันเมื่ออยู่ใกล้กับคนที่เรารัก โดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ หายใจแรงถี่ (+ฟืดฟาดๆ)
เสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนหื่นด้วยการทำให้เกิด ejaculation
และเพิ่มความดันจนเหงื่อซึมออกมาเวลาได้จับมือกันครับ =]


attraction stage

ช่วงนี้เป็นช่วงมีอาการเหมือนติดยา (high)
สารตัวแรกที่เกี่ยวข้องคือซีโรโทนินครับ
ปกติสารตัวนี้เป็นสารสื่อประสาทในสมอง มีหน้าที่หลายอย่าง โดยเฉพาะเป็นยานอนหลับ
ขณะกำลังอินเลิฟพบว่าปริมาณของซีโรโทนิน และวงจรประสาทของมันทำงานลดลงด้วย
เป็นผลคล้ายๆกับผู้ป่วยจิตเวชโรคย้ำคิดย้ำทำครับ (OCD)
คนอินเลิฟเลยมักมีอาการหมกมุ่น คิดถึงแต่แฟนใช่มั้ยครับ?
วันนี้จะกินอะไรกันดี ดูหนังเรื่องไหนดีล่ะ ฉีดน้ำหอมกลิ่นแบบนี้ได้มั้ยนะ
หรือว่าผมเป็นคนเดียวเปล่าหว่า?
มีบางรายงานพบว่า ผู้หญิงคนหนึ่งจะหย่ากับสามีอยู่จะรอมร่อ
แล้วช่วงนั้นก็หยุดยาที่ตัวเองใช้รักษา OCD อยู่พอดี
ผลปรากฏว่าความสัมพันธ์ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ แฮปปี้เอนดิ้งเลย~

PEA หรือ love molecule (งั้นผมเรียกว่าสารรักละกันนะครับ)

เป็นสารที่คล้ายกับยาบ้า หรือแอมเฟตามีน
จะถูกกระตุ้นได้เพียงแค่สบตากัน และจับมือกันเอาไว้
ผลของสารรักตัวนี้คล้ายกับอะดรีนาลีนครับ
และมีหน้าที่สำคัญในการเพิ่มความเร็วในการสื่อสารของเซลล์ประสาท
แถมเค้ายังพบว่าเมื่อกินชอกโกแล็ต จะพบสารรักในกระแสเลือดมากขึ้นด้วยนะครับ
(บางเปเป้อร์บอก กลิ่นกุหลาบก็มีด้วย..แต่มันไม่น่าจะดูดซึมนะ?)
อาจจะเป็นเหตุผลนึงที่คนให้ชอกโกแล็ตวันวาเลนไทน์ก็ได้นะ
ปีไหนผมได้ชอกโกแล๊ตน้อยนี่ต้องซื้อมาปลอบใจตัวเองทุกทีเลย แหะๆ
นอกจากนี้สารรักยังสามารถกระตุ้นการหลั่งสารตัวถัดไป คือโดปามีนได้ด้วยครับ

โดปามีน หรือ feel-good chemical,pleasure chemical : สารรู้สึกดีจัง

นักวิทยาศาสตร์ลองเอาเด็กๆมหาลัยมาทำ functional MRI ขณะพวกเขาดูรูปแฟนครับ
พบว่าสมองส่วนที่เรียกว่า ventral tegmental area (VTA) และ caudate nucleus มีการทำงานมากขึ้นครับ
ตามปกติแล้วที่แรก จะส่งโดปามีนไปให้อีกที่นึง
นั่นแปลว่าขณะเรารักใครซักคน สมองส่วน caudate จะอาบไปด้วยโดปามีนครับ
เป็นอาการเดียวกันกับหลังได้รับยาเสพติดประเภท นิโคตีน หรือโคเคน
เพราะสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับความอิ่มเอิบ (euphoria) ปรารถนา (craving) และการติด (addiction) ครับ
โดปามีนจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในสมองและเปลี่ยนความหื่นจากขั้นแรก
เป็นความสเน่หาที่ลึกซึ้งขึ้นนะครับ
เมื่อโดปามีนทำงานควบคู่กับอะดรีนาลีนจะยิ่งอินเลิฟไปกันใหญ่เลยครับ
จะทำให้เราร่าเริง เปี่ยมล้นด้วยพลังงาน นอนไม่หลับกระสับกระส่าย เบื่ออาหาร
ทำอะไรอย่างมีเป้าหมาย และไม่สนใจอะไร ใคร ใดๆ เลยครับ
มีอาการน่ารักที่เรียกว่า pink lens effect คือโลกนี้สีชมพูมีแต่สองคนครับ
เธอทำแบบนี้น่ารักดีออก คนอื่นมาว่าได้ไง
คุณโดนที่ทำงานว่ามาหรอ แสดงว่าเจ้านายคุณนี่แย่ที่สุดเลยสินะ - -a
เป็นอาการแบบว่า love is blind หรือ รักทำให้คนตาบอด นั่นแหละครับ

ยาตัวหนึ่งครับชื่อ deprenyl เป็นยาเพิ่มระดับโดปามีนและ PEA ในร่างกาย
ใช้รักษาโรคพากินสันครับ (ซึ่งเกิดจากระดับโดปามีนในสมองลดลง)
คนบางคนกินแล้วบอกว่า "ผมรู้สึกอยากรักสาวๆทุกคนที่เดินผ่านผมจัง !!"
หรือบางเว็บก็เขียนเอาไว้ว่า deprenyl for better sex ด้วยอะครับ อายจัง 55

สุดท้ายโดปามีนยังช่วยกระตุ้นการหลั่งสารตัวท้ายสุด คือ ออกซิโทซิน ด้วยครับ


attachment stage

ออกซิโทซิน เป็นสารตัวสำคัญในการสร้างความผูกพันระยะยาวครับ
จริงๆแล้วมันเป็นฮอร์โมนที่พบมากในผู้หญิง ช่วยคลอดลูก หลั่งน้ำนม
สร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูก สร้างพฤติกรรมความเป็นแม่ของมนุษย์
โดยเค้าลองบล๊อกการหลั่งออกซิโทซินในสัตว์ครับ ปรากฏว่าคุณแม่ก็ไม่สนใจลูกเลย
แล้วลองฉีดเข้าไปในสัตว์เพศเมียที่ยังโสดอยู่ ก็เอาลูกชาวบ้านเขามาเลี้ยงเลยอะ น่ารักดีครับ
นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับพฤติกรรมฉันจะมีแต่เธอ (monogamy) ในมนุษย์ด้วย
ด้วยเหตุว่าออกซิโทซินจะพบมากหลังจากถึงจุดสุดยอด และหลั่งแบบมีการเรียนรู้ได้
แปลว่า ถ้าเกิดเรามีเซ็กส์กับคู่ของเราไปนานๆ ร่างกายจะตอบสนองต่อการหลั่งได้ดีขึ้นครับ
แค่มองตากัน มันก็หลั่งแล้ว ถือว่าธรรมชาติช่วยตัดชอยส์อื่นๆสำหรับการมีเซ็กส์ออกไปในยามที่เรามีคู่ครับ เย้ !


การทดลองนึงลองทำกับ prairie vole ครับ เป็นหนูชนิดหนึ่ง
ฉีดออกซิโทซินให้พวกมันแล้วปรากฏว่าอยู่ด้วยกันทั้งปีทั้งชาติเลยครับ
ดูแลกัน 24 ชั่วโมง แถมตัวผู้ยังมีการหึงหวงและแสดงอาการเกี้ยวกราดเวลาชาวบ้านมาระรานกับแฟนตัวเองด้วยนะครับ
(jealous husband syndrome ครับ - ชื่อตลกอะ)
การทดลองที่คล้ายๆกันทำกับหนูแพร โดยการฉีดออกซิโทซินให้หนูแพรตัวเมีย และวาโสเพรซซิน
(เป็นฮอร์โมนคุณสมบัติคล้ายกัน หลั่งออกมาจากที่เดียวกัน) ให้หนูแพรตัวผู้
โดยบังคับไม่ให้มันมีอะไรกันเลยย หึหึหึหึ
ผลปรากฎว่า ได้ผลเหมือนกันครับ
แม้ไม่มีเซ็กส์แต่ก็ผูกพันกันไปจนตายเลยครับ
แต่น่าเสียดายที่เค้าบอกว่าระดับสารสองตัวนี้ในเลือดมนุษย์ไม่มีค่ามากพอที่จะแสดงพฤติกรรมฉันจะมีแต่เธอได้ครับ
นั่นก็แปลว่า แสงเทียน อาหารหรู ดินเนอร์ และดอกไม้วาเลนไทน์
ก็อาจช่วยไม่ได้ครับ สงสัยต้องฉีดวาโสเพรซซินให้แฟนซะแล้วครับ :)
ปล. อย่าทำนะครับ อันตรายนะ





love vs sex

แล้วความรักกับเซ็กส์ล่ะ?
อะไรมาก่อนกัน เป็นเรื่องแยกจากกันได้รึเปล่านะครับ? ผมไม่รู้ ยังไม่ถึง 20 ฮาๆๆ
นักวิทยาศาสตร์กลุ่มเดิมทำการทดลองที่แอบทะลึ่ง โดยทำ functional MRI พร้อมทั้งให้นักศึกษา ซึ่งน่าจะเป็นชาย
ดูรูปโป๊ครับ ผลปรากฎว่า สมองที่เด่นขึ้นมาไม่ใช่สมองส่วนที่ใช้รัก แต่เป็นส่วนของ
hypothalamus และ amygdala ครับ
สมองส่วนแรกเกี่ยวข้องกับการตอบสนองควบคุมลักษณะความต้องการในร่างกาย
เช่น หิวข้าวจัง อยากกินน้ำจัง ง่วงจัง อากาศร้อนจัง มิยาบิจัง (อันหลังไม่เกี่ยวครับ -*-)
ส่วนเอมี่ดารานั้นมีหน้าที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความจำ อารมณ์ สันชาตญาณ ฯลฯ
แสดงว่ามันแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงรึเปล่า?
เปล่าครับ เขาพบกว่าปริมาณโดปามีนที่บอกไปแล้ว เมื่อเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง
สามารถเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนแห่งความหื่นได้ครับ
แสดงว่าธรรมชาติออกแบบให้คนเรา รัก แล้วค่อย เซ็กซ์ นะผมว่า :)
เห็นได้ว่า รัก + เซ็กส์ ในบทความเค้าแปลว่า romantic love ครับ
ซึ่งไม่ใช่เรื่องของ emotion แต่เป็นความปรารถนาเช่นเดียวกันกับการที่ หิวข้าวจัง อยากกินน้ำจังครับ
เลยเป็นที่มาของคำว่า crazy in love มั้งครับ





male vs female

เค้าบอกว่า สมองของผู้ชายเนี่ยจะประติดประต่อความรักและเซ็กส์เข้ากับ visual stimuli ได้ดีกว่าครับ
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อุตสาหกรรมภาพยนต์ไม่ใส่เสื้อผ้าจะขายได้กับผู้ชายเป็นหลัก
ตามวิวัฒนาการแล้วเพศผู้มีพันธกิจหลักคือแพร่พันธุ์ให้ได้มากที่สุดใช่มั้ยครับ
สามารถผลิตอสุจิได้มากมายตลอดชีวิต
การโยงเข้ากับประสาทสัมผัสทางตาเนี่ย เพื่อพิจารณาว่าเพศเมียที่เราเห็นเนี่ย
ลักษณะดีมากน้อยแค่ไหน และหมดวัยเจริญพันธุ์หรือยังครับ (เค้าว่างั้นนะ)
สารเคมีต่างๆที่ว่ามาเนี่ย ในผู้ชายก็ผลิตได้มากกว่าผู้หญิงครับ
เพราะได้รับการกระตุ้นจากประสาทสัมผัสทางตาได้โดยอ้อมนั่นเอง


แต่กับผู้หญิงเนี่ย ค่อนข้างซับซ้อนครับ เธอไม่มีส่วนประติดประต่อกับการมอง
เธอเลยพัฒนาที่จะโยงเรื่องเหล่านั้นเข้ากับความจำครับ โอววววว
เพื่อที่จะใช้ประสบการณ์ในการคบหาดูใจ สอดส่องพฤติกรรมของผู้ชายว่า
เหมาะจะเป็นพ่อของลูกชั้นมั้ย? คนอื่นชั้นจำได้ว่าเค้าไม่ทำแบบนี้กันนะ?
(โดยคำถามทดสอบความจำประมาณว่า
จำวันแรกที่เราเจอกันได้รึเปล่า?
ไอติมก้อนแรกที่กินด้วยกันเป็นรสอะไร? -*-)
นอกจากนี้เขาพบว่าพฤติกรรมแบบ romantic love และ attachment นี้
พบน้อยในสัตว์ชนิดอื่นๆครับ
สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาเพื่อการได้รับความดูแล ปกป้อง และคุ้มครอง
ลิงชั้นต่ำๆตัวผู้กับตัวเมียขนาดเท่าๆกัน แต่เมื่อสูงขึ้นๆตัวผู้เริ่มตัวใหญ่กว่าครับ
เพศเมียเลยบอบบาง น่าทะนุถนอม สมควรได้รับความรัก
ไม่เหมือนแมงมุมแม่ม่ายดำอ่า แบบนั้นไม่เอานะ เสร็จปุ๊บตายปั๊บเลยย แง





ความจำสั้น แต่รักฉันยาว?

สารอีกตัวหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ามีส่วนเกี่ยวกับความรัก
คือ NGF (nerve growth factor) ครับ
เช่น BNDF, NF-3, NF-4
ปกติแล้วไอ้ตัวนี้นี่จะหลั่งออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงและคงสภาพเซลล์ประสาทของร่างกายเอาไว้
ซึ่งสัมพันธ์กับที่พูดมาทั้งหมดใช่มั้ยครับว่าความรักส่วนหนึ่งก็มาจากสมองและสารเคมี
ขณะรักกันช่วงปีแรกสารตัวนี้สูงปรี๊ดเลยครับ
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า มันแค่ช่วงปีแรกเท่านั้นอะครับ -*-
คงใกล้เคียงกับคำว่า ถึงจุดอิ่มตัว หรือเปล่า
ไม่ใช่ว่าไม่รัก แต่ก็ไม่ได้วาบหวานอิโรติกกุ๊กกิ๊กหื่นกระหายเหมือนสัปดาห์แรกที่คบกัน
แถมเค้ายังทำเสกลบอกเรทติ้งของระดับ NGF ในเลือดไว้ด้วยนะครับ ไม่รู้จะเชื่อได้มั้ย

NGF level - Love rating
0-50 - and then they call it puppy love….
51-100 - teenage crush
101-150 - getting warm; could be serious
151-200 - red hot passion. it’s the real thing!
แปล : แค่เห็นหน้าก็เริ่มเพ้อ > ฉันเธอในวัยใส > อบอุ่นในหัวใจ > เร่าร้อนแบบนี้สิใช่ !! สุดยอด (?)





เมื่อเธอถูกดูดนม - when she was suckled

โพรแลกติน ก็เป็นฮอร์โมนอีกตัวที่สำคัญของสตรีเพศครับ
จะหลั่งออกมามากระยะหลังคลอดลูก และช่วยกดฮอร์โมนเพศหญิงในคุณแม่ให้นมลูกได้ประมาณ 6 เดือนครับ
บางคนเลยบอกว่าการให้นมลูกเป็นการคุมกำเนิดอย่างนึงไงครับ (แต่ก็ไม่เสมอไปนะ)

ฮอร์โมนตัวนี้ถูกกระตุ้นมากเมื่อลูกดูดนม เรียก suckling reflex ครับ
(ไม่ใช่ sucking นะครับ ผมเคยเขียนในข้อสอบอะ 55 อายมาก)
จะเสริมสร้างสายใยรักของแม่และลูก สร้างพฤติกรรมความเป็นแม่ และสร้างน้ำนมมากขึ้นอะ
นอกจากนี้พฤติกรรมความเป็นแม่ยังกระตุ้นโดยการสัมผัสลูกผ่านประสาททั้งห้าด้วยครับ

อย่างลูกแมวที่ดูดนมแม่หมา แม่หมาก็รักมันด้วยกลไกแบบนี้มั้งครับ ผมมั่วเอา ;P
แต่ถ้าคุณพ่อดูดนมคุณแม่นี่ ><" ผมว่าฮอร์โมนตัวนี้ไม่หลั่งนา
แล้วถ้าคุณแม่ดูดนมคุณพ่อบ้างล่ะ? (แล้วทำไมผู้ใหญ่ต้องทำอะไรแบบนี้กันด้วยครับ? 55)
โพรแลกตินเป็นฮอร์โมนที่มีระดับต่ำในผู้ชายครับ จึงไม่น่าหลั่งสารตัวนี้มากระตุ้นความสัมพันธ์เท่าไหร่

นอกเรื่องนะครับ โพรแลกตินเนี่ย เป็นสารตัวนึงในน้ำตาที่หลั่งมาเวลาเศร้าครับ
(น้ำตาอารมณ์ต่างๆองค์ประกอบทางเคมีก็ต่างกันด้วยครับ)
ตอนเด็กๆ ดชกับดญ เนี่ย สารตัวนี้เท่าๆกันครับ เด็กผู้ชายเลยขี้แยพอๆกับเด็กผู้หญิง
แต่พอเป็นวัยรุ่นสารตัวนี้มันลดลง เพศหญิงเลยเป็นเพศที่เจ้าน้ำตากว่าไงครับ :)




Love effect on an overall Health

คุณหมอคนนี้ศึกษาเรื่องผลของความรักต่อสุขภาพกายครับ สนุกมากๆ
โดยที่เค้าบอกว่า love is "heart Chakra" - จักระของหัวใจ(?) ยังกะนารุโตะอะ

หลายคนอ่านๆมาแล้วก็พบว่า แล้วความรักเนี่ยไม่เกี่ยวกับหัวใจเลยหรอ
พวกนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่มีความรักในหัวใจกันเลยใช่มั้ย ฮือๆ
เปล่าครับ เค้าพบว่า

1) ที่หัวใจเนี่ย จะมีเซนเซอร์บางอย่างจับสารเคมีในเลือดเรา แล้วแปลเป็นกระแสประสาท
ไปทำงาน co กับสมองส่วนสูงครับ เป็นกลไก inner synchronization ของร่างกาย
คอย sync อวัยวะต่างๆให้สัมพันธ์กันยังไงยังงั้น ทำให้เราสุขภาพดี กระบวนความคิดดี สรีรวิทยาร่างกายดีครับ

2) นอกจากติดต่อกับระบบประสาทแล้ว หัวใจยังเป็นอีกหน่วยฟังก์ชั่นหนึ่ง
ของระบบประสาทอัติโนวัติด้วยครับ โดยปกติหัวใจจะถูกระบบประสาทย่อยสองระบบควบคุม
คานอำนาจซึ่งกันและกันเอาไว้ เหมือนหยินหยาง หนึ่งเร็วและแรง อีกหนึ่งช้าและเบา
เค้าพบว่าคนปกติเมื่อโกรธเนี่ย
หัวใจเราเต้นอย่างบ้าคลั่งใช่มั้ยครับ เพราะเสียสมดุลของสองระบบนี้ครับ
แต่ความรัก (อีกแล้ว) จะทำให้เมื่อเราโกรธระบบไม่เสียสมดุลมากนัก
เพราะทุกอย่างมัน sync ถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการทั้งสองนี้ส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นเยอะเลยครับ


และนี่คือผลการวิจัยที่คุณหมอคนนั้นได้ทำครับ

1) คนที่ได้รับความรักอย่างต่อเนื่อง มีอัตราตีบตันของหลอดเลือดหัวใจต่ำกว่าอีกกลุ่มครับ
2) คนแก่ที่ได้มอบความรักอย่างต่อเนื่อง มีผลที่ดีต่อกระบวนชราภาพ (aging process) ครับ
3) อาสาสมัครที่อินเลิฟและอับเฉา ได้รับยาพ่นจมูกที่มี rhinovirus ผสมอยู่
เป็นเชื้อหวัดธรรมดานะครับ และแน่นอนว่าคนที่อินเลิฟ มีอัตราติดหวัดต่ำกว่าอีกกลุ่มถึง 4 เท่าครับ
4) ผู้ป่วยจิตเวชโรคซึมเศร้ากลุ่มหนึ่ง สามารถหายจากโรคได้ซักพักเมื่อมีรักครับ
นั่นเป็นเพราะภาวะซึมเศร้าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปริมาณอะดรีนาลีนที่ลดลงในสมองครับ
ความรักที่เกิดขึ้นจะเพิ่มปริมาณอะดรีนาลีนได้ส่วนหนึ่ง แล้วแต่คนครับว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน
5) คนอกหักที่โกรธห้านาที จะเพิ่มปริมาณคอติซอล (ฮอร์โมนเครียด) ไปหกชั่วโมงครับ
ฮอร์โมนตัวนี้สามารถไปลด sIgA ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันเราได้ ก็แย่เลยใช่มั้ยครับ
แต่ความรักที่เกิดขึ้นแค่ห้านาทีเนี่ย สามารถเพิ่มปริมาณสารตัวนี้ได้นานหลายชั่วโมงเลยครับ
6) เพราะความรักที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ จะไปลดปริมาณคอติซอลได้ 23%
แต่สามารถเพิ่มฮอร์โมน DHEA (ฮอร์โมนชะลอแก่) ได้ 100% เลยครับ วู้วววว
7) เอนดอร์ฟิน (สารแห่งความสุข)ที่หลั่งออกมา จะช่วยย่อยอาหารและการขับถ่าย
และสามารถกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อว่า natural killer cell ได้
เซลล์ตัวนี้เป็นหนึ่งในทหารของร่างกาย ที่ช่วยต่อสู้และป้องกันโรคมะเร็งครับ :)




จบแล้วครับ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะค้าบ :)
การทดลองสุดท้ายไม่เกี่ยวกับความรักซักเท่าไหร่
คุณป้านักวิทยาศาสตร์เจ้าเดิมให้นักศึกษาไปนอนเล่นในเครื่อง MRI
พร้อมทั้งให้ดูรูปคนรักเก่าที่จากกันไปอย่างชอกช้ำ
ผลปรากฎว่าสมองส่วนที่ถูกกระตุ้นคือซีรีบรัมส่วน insular lobe ครับ
ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่รับรู้และปรุงแต่งความเจ็บปวดทางกายอ่า
แบบนี้เวลาร้องไห้และเจ็บปรี๊ดดดขึ้นมานี่ก็ของจริงสินะ -*- 555

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553